การว่ายน้ำแล้วเป็นตะคริว ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
ก่อนการว่ายน้ำ เราควรจะต้องอบอุ่นร่างกายให้พร้อมก่อนว่ายน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดตะคริวระหว่างว่ายน้ำ ซึ่งนอกจากการอบอุ่นร่างกายแล้ว การปรับอุณหภูมิน้ำ ให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำนั้น ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน คิดอย่างเดียว เป็นเรื่องง่าย แต่การจะอุ่นน้ำปริมาตรเยอะ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ยกตัวอย่าง เช่น สระว่ายน้ำ ขนาด 4x6 เมตร ลึก 1.5 เมตร ภายในสระ บรรจุน้ำ ปริมาตร 36 ลูกบาศก์เมตร หรือ จำนวนน้ำถึง 36,000 ลิตรเลยทีเดียว การจะเพิ่มอุณหภูมิน้ำ จำนวนนี้ 1 องศา จะต้องใช้พลังงาน ถึงกว่า 42 กิโลวัตต์ หากเทียบเป็นค่าไฟฟ้า คิดเป็นเงินถึง 168 บาท (ค่าไฟฟ้า กิโลวัตต์ละ 4 บาท) แต่ในกรณี การทำธุรกิจ เช่น สระว่ายน้ำสำหรับเด็กเล็ก สระว่ายน้ำเพื่อการแข่งขัน จำเป็นจะต้องปรับอุณหภูมิน้ำ ให้เหมาะสมตามมาตรฐาน กล่าวคือ 28-30 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิน้ำ ปกติ ที่ไม่มีการทำความร้อน อุณหภูมิจะอยู่ที่ 25-27 องศาเซลเซียส โดยในกรณีดังกล่าว เราจะต้องเพิ่มความร้อนให้น้ำ 3-5 องศา
แล้วทำอย่างไร ถึงจะเพิ่มอุณหภูมิของน้ำได้ โดยค่าใช้จ่ายไม่สูง ฮีทปั๊ม จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับการทำความร้อนน้ำ ปริมาตรมากๆ และมีตัวเลือกที่ค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน คือ การต้มด้วยหม้อต้ม LPG แต่เมื่อเทียบกันแล้ว ความยุ่งยากในการบริหารจัดการ ของ หม้อต้ม LPG นั้น ยุ่งยากซับซ้อนกว่ากันมาก และยังต้องบริหารจัดการ การเปลี่ยนถัง แก๊ส LPG อีกด้วย ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้ว ฮีทปั๊มเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยค่าใช้จ่ายในการทำความร้อนนั้น
เราจะยกตัวอย่างจาก กรณีด้านบน สระว่ายน้ำ ขนาด 4x6 เมตร ลึก 1.5 เมตร เพิ่มอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส จากเดิมที่ต้องใช้กำลังไฟฟ้า มากถึง 42x 5 = 210 กิโลวัตต์นั้น หากเราใช้ฮีทปั๊ม จะใช้พลังงานไฟฟ้าเพียง 38 กิโลวัตต์ ท่านผู้อ่านอาจไม่เข้าใจว่า ทำไมฮีทปั๊มถึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำความร้อนน้ำได้เยอะถึงเพียงนี้ โปรดอ่านหลักการทำงานอย่างละเอียด ที่ ลิงค์นี้ ได้เลยครับ โดยฮีทปั๊ม ไม่ได้ใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำความร้อนโดยตรง แต่จะใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนวงจรสารทำความเย็น และ วงจรสารทำความเย็น จะดึงเอาพลังงานความร้อนจากอากาศ รอบข้าง ถ่ายเทสู่น้ำ ประสิทธิภาพเครื่องจักรจึงสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานในอุณหภูมิของสระว่ายน้ำ ฮีทปั๊ม สามารถสร้างประสิทธิภาพได้มากถึง 5.5 เท่า กล่าวคือ จ่ายค่าไฟฟ้า 1 หน่วย แต่สามารถสร้างพลังงานความร้อนได้ 5.5 หน่วย
ตะคริว ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นครับ นอกจากเรื่องตะคริวแล้ว การเล่นน้ำที่อุณหภูมิปกติเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนอาจส่งผลให้เราไม่สบายได้ เพราะร่างกายของเรา อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส แต่น้ำ 26 องศาเซลเซียส คุณลองคิดดูสิครับ ผลต่าง 11 องศา ร่างกายเราจะสูญเสียความร้อนสู่น้ำเยอะมาก การว่ายน้ำจึงเป็นกีฬาที่ใช้พลังงานเยอะมากๆ แต่หากเราปรับอุณหภูมิน้ำ จาก 26 องศาเซลเซียส เป็น 30 องศาเซลเซียส ผลต่างของอุณหภูมิ จะเหลือเพียงแค่ 7 องศา เท่านั้น นอกจากเรื่องทางวิทยาศาสตร์แล้ว การทำความร้อนให้สระว่ายน้ำ ยังส่งผลให้เกิดการผ่อนคลายในการใช้ออกกำลังอีกด้วย นอกจากสระแบบปกติแล้ว ลูกค้าบางกลุ่ม ได้ปรับอุณหภูมิน้ำ ให้สูงขึ้นไปอีกนิดหน่อย จาก 28 องศาเซลเซียส เพื่อว่ายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็น 35 องศาเซลเซียส สระน้ำปกติ จะเปลี่ยนสภาพเป็นสระ ธาราบำบัดทันที ใช้สำหรับ กายภาพร่างกายของผู้ที่ต้องการออกกำลัง และใช้น้ำ เป็นตัวช่วยในการพยุงน้ำหนัก และ เมื่อขยับอุณหภูมิสูงยิ่งไปกว่านั้นอีก เป็น 39 องศาเซลเซียส สูงกว่าร่างกาย 2 องศา สระใบเดิม จะกลายเป็นสระออนเซ็น เมื่อลงไปแช่แล้ว จะเกิดความผ่อนคลายต่อร่างกายเราเป็นอย่างมาก เห็นไหมครับ อุณหภูมิของน้ำ เป็นเรื่องสำคัญ และผลเสียจากการแช่น้ำเย็นๆ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ...
ปรึกษาและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่