ค่าสัมประสิทธิ์ประสิทธิภาพ COP(Coefficient of Performance) คืออะไร
ค่าสัมประสิทธิ์ประสิทธิภาพเครื่องจักร คืออะไร ทำไมเราถึงต้องรู้จัก หากจะกล่าวให้ดูใกล้ตัวขึ้นมา หากพูดเรื่อง ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คาดว่าท่านผู้อ่านเกือบทั้งหมด คงเคยเห็นผ่านหูผ่านตามาบ้าง เพราะเป็นฉลากที่ติดอยู่ตามเครื่องใช้ไฟฟ้า ทุกชนิด โดยการไฟฟ้าส่วนผลิต (กฟผ.) ภายใต้กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดเอาไว้ โดยการที่อุปกรณ์ไฟฟ้า แต่ละชนิดจะได้ ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 นั้น อุปกรณ์นั้นๆ จะต้องผ่านการทดสอบตรวจวัดตามมาตรฐานด้านพลังงาน และหนึ่งในตัวแปรที่ ดูว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ ได้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือไม่ นั่นคือค่าสัมประสิทธิ์ประสิทธิภาพท่านผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://labelno5.egat.co.th ซึ่งในเครื่องฮีตปั๊ม หรือ ปั๊มความร้อนนั้น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่กระทรวงพลังงานเริ่มให้มีการทดสอบตรวจวัดตามมาตรฐานด้านพลังงาน เช่นกัน โดยทางบริษัทไฮซ์มันน์(ประเทศไทย)จำกัด ได้ส่งผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าร่วมโครงการกับกระทรวงพลังงาน และได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่เราได้รับ (OUTPUT)
ค่าประสิทธิภาพ (Efficiency) = สิ่งที่เราใช้ (INPUT)
เช่น ขดลวดไฟฟ้า A ขนาด 2,000 วัตต์ ต้องใช้ไฟฟ้า ในการทำงานพิกัด 2,100 วัตต์ เมื่อเรานำมาคำนวณ จะพบว่า ค่าประสิทธิภาพของขดลวดไฟฟ้า A มีค่าเท่ากับ 2,000/2,100 = 0.95 หรือ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์คือ 95% กล่าวคือ เราจ่ายไฟฟ้า 1 หน่วย หรือ 100% นั้น เราจะได้พลังงานออกมา 0.95 หน่วย หรือ 95% จะเห็นได้ว่า ขดลวดไฟฟ้า ที่ใช้หลักการ เปลี่ยนรูปของพลังงาน จากพลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานความร้อน จะเกิดการสูญเสียเสมอ จึงทำให้ประสิทธิภาพ ไม่ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
สำหรับ ปั๊มความร้อน หรือ เครื่องฮีตปั๊ม นั้น ใช้วงจรสารทำความเย็น (วัฎจักรคาร์โนด , Carnot Cycle) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนอุปกรณ์ เกิดการแลกเปลี่ยนพลังงาน ระหว่างอากาศสิ่งแวดล้อมและสารทำความเย็น ส่งผลให้ได้เปรียบตามหลักการเทอร์โมไดนามิกส์ และได้ค่าประสิทธิภาพ มากกว่า 100% คิดแบบทั่วไปว่าเป็นไปได้อย่างไร ที่เราจะได้รับพลังงาน มากกว่าพลังงานที่เราสูญเสียไป
กล่าวโดยสรุปคือ ขณะวงจรสารทำความเย็นทำงาน เกิดการแลกเปลี่ยนพลังงานจากที่หนึ่ง ไปสู่ที่หนึ่ง ในเครื่องฮีตปั๊ม เกิดการแลกเปลี่ยนพลังงานความร้อน จากอากาศ สู่น้ำ ผ่านสารทำความเย็น ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์ประสิทธิภาพของเครื่องฮีตปั๊ม โดยเฉลี่ยที่ 3.0-4.2 เท่า (300%-420%) นั่นคือ เราได้น้ำที่อุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากดึงความร้อนมาจากอากาศ และในขณะเดียวกัน เราได้อากาศที่เย็นลงเพราะถ่ายเทความร้อนสู่น้ำ เป็นผลพลอยได้ของระบบฮีตปั๊มที่ได้ ระหว่างผลิตน้ำร้อน
ในวงจรเครื่องปรับอากาศ ที่ใกล้ตัวเรามากๆ ก็ใช้วงจรสารทำความเย็นเช่นกัน กล่าวคือ เราแลกเปลี่ยนระหว่างความร้อนในห้องออกไป และนำความเย็นจากอากาศภายนอกเข้ามา สิ่งที่เราเห็นคือ แอร์ด้านในห้อง จะได้ลมเย็น และ แอร์ด้านนอกห้อง จะได้ลมร้อน
เรายังมีบทความที่ให้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับระบบน้ำร้อนและเครื่องฮีตปั๊มได้อีกหลายบทความ โดยสามารถกดได้ที่ลิงค์นี้ หรือ หากท่านมีข้อสงสัยอยากสอบถามหรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับระบบน้ำร้อน เราบริษัทไฮซ์มันน์ ยินดีให้คำปรึกษา
ปรึกษาและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่