รู้จักและเข้าใจระบบน้ำร้อนฮีทปั๊ม (Heat Pump) ให้มากขึ้น


2024-08-06 16:58:28
#ฮีทปั๊ม #ปั๊มความร้อน #ระบบน้ำร้อน

รู้จักและเข้าใจระบบน้ำร้อนฮีทปั๊ม (Heat Pump) ให้มากขึ้น

กาน้ำร้อน อุปกรณ์ต้มน้ำร้อน สุดคลาสสิค ที่เราเห็นและคุ้นตา ตั้งแต่เด็ก โดยเราเริ่มจากการเผาถ่านฟืน ให้เกิดเปลวไฟ และ ยกกาน้ำร้อน จนน้ำในหม้อเดือด เพื่อ ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ และนำน้ำร้อนนั้น ไปใช้งาน หรือ จะนำไปผสมน้ำกลายเป็นน้ำอุ่น เพื่อใช้อาบน้ำเด็กน้อยกาต้มน้ำร้อนแบบโบราณกาต้มน้ำร้อน

เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนา มีการเปลี่ยนใช้เครื่อง Boiler หรือ หม้อไอน้ำ กล่าวคือ ยังคงใช้เชื้อเพลิงชีวมวลในการต้มน้ำร้อนอยู่ แต่สามารถผลิตความร้อนได้ครั้งปริมาณมาก แต่ ด้วยลักษณะ ของการทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าว เราใช้วิธีการ เปลี่ยนรูปแบบของพลังงาน เผาเชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อให้ได้พลังงานความร้อน เมื่อเกิดการเปลี่ยนรูปของพลังงาน จะเกิดการสูญเสียเป็นเรื่องคู่กัน ไปในเครื่อง Boiler หรือ หม้อไอน้ำอุปกรณ์ทางเลือกอีกชนิดหนึ่ง แต่ยังคงใช้วิธีการเดิม คือ เปลี่ยนรูปของพลังงาน โดยใช้พลังงานไฟฟ้า ผ่านขดลวดไฟฟ้า เกิดการเปลี่ยนรูปพลังงาน จากพลังงานไฟฟ้า เกิดเป็นพลังงานความร้อน และนำความร้อนที่ได้ไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น น้ำร้อน หรือ ลมร้อน ก็ตาม

ฮีทปั๊ม(Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน

มาถึงอุปกรณ์ที่เป็น พระเอก ที่จะช่วยลดการใช้พลังงานกัน นั่นคือฮีทปั๊ม(Heat Pump) หรือปั๊มความร้อน เครื่องนี้ มีหลักการทำงานที่ไม่เหมือนกับอุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้น โดย เครื่องฮีทปั๊ม ใช้วงจรสารทำความเย็น ในการขับเคลื่อนระบบ เกิด ”การแลกเปลี่ยน” พลังงาน จากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง ไม่ใช่ “การเปลี่ยนแปลง” รูปแบบพลังงาน จึงทำให้เครื่องฮีตปั๊ม มีประสิทธิภาพสูง ถึง 4 เท่า 


โดยรูปแบบของวรจรสารทำความเย็น ที่ใช้ในเครื่องฮีทปั๊ม เราใช้พลังงานไฟฟ้า ในการทำงานคอมเพลสเซอร์(Compressor) เพิ่มความดันให้สารทำความเย็น เมื่อสารทำความเย็นมีความดันที่สูงขึ้น อุปกรณ์ถัดไปที่เรียกว่า คอนเดนเซอร์(Condensor) เข้ามารับช่วงต่อ ทำหน้าที่ แลกเปลี่ยนพลังงาน จากตัวกลางภายนอกสู่สารทำความเย็น (แหล่งพลังงานที่ 1) (ในเครื่องฮีตปั๊มเราใช้น้ำ เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนพลังงานดังกล่าว) เมื่อตัวกลางภายนอก 

ได้รับความร้อนจากสารทำความเย็นสาร ดังนั้น สารทำความเย็น จะเย็นตัวลง เกิดการควบแน่น กลั่นตัวเป็นของเหลว และเตรียมจะเข้าสู่อุปกรณ์ถัดไป คือ วาล์วลดแรงดัน(Expansion Valve) เมื่อผ่านอุปกรณ์นี้ สารทำความเย็น ที่แรงดันสูง และเกิดการควบแน่นมาแล้วนั้น ถูกลดแรงดันอย่างกะทันหัน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะ เป็น ไอระเหย ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนพลังงาน จากตัวกลางภายนอกสู่สารทำความเย็นอีกครั้ง (แหล่งพลังงานที่ 2) เพื่อดึงความร้อนสู่สารทำความเย็น ทำให้ตัวสารทำความเย็น ระเหยกลายเป็นไอ และ ตัวกลางภายนอก เมื่อถูกดึงความร้อนออก จึงทำให้ตัวกลาง เย็นตัวลง เราเรียกอุปกรณ์นี้ว่า อีแวปเปอเรเตอร์ (Evaporator) เมื่อสารทำความเย็นระเหยตัว กลายเป็นไอ เรียบร้อยแล้ว ก็จะวนเวียนวัฎจักร เข้าสู่ คอมเพลสเซอร์อีกครั้ง


เมื่ออ่านมาถึงบริเวณนี้ เราจะพอเห็นภาพในการทำงานของ วงจรสารทำความเย็น ได้อย่างครบวงจร เราจะเห็นได้ว่า ความร้อน และ ความเย็น ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการแลกเปลี่ยนพลังงาน จากแหล่งหนึ่ง ไปยังอีกแหล่งหนึ่ง มิได้เกิดการการเปลี่ยนรูปแบบพลังงาน จากรูปหนี่งไปอีกรูปหนึ่ง ที่เราพบในอุปกรณ์ หม้อต้มไอน้ำ หรือ ขดลวดความร้อน วงจรสารทำความเย็นนี้ เราพบเห็นเกือบจะทุกวันในชีวิตประจำวัน ที่เห็นบ่อยที่สุด นั่นคือ เครื่องปรับอากาศ ในส่วนของฮีตปั๊มนั้น ใช้วงจรสารความเย็นเช่นเดียวกัน แต่ สลับด้านการใช้งานกับ เครื่องปรับอากาศ เรามีโอกาสได้พบเห็นน้อยมาก เนื่องจาก มีราคาที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับ ขดลวดความร้อน 


แต่เมื่อมองมุมของพลังงานที่เราต้องใช้ในการผลิตน้ำร้อนนั้น ฮีตปั๊ม สามารถช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า ขดลวดไฟฟ้าได้มากถึง 4 เท่า กล่าวคือ จากเดินจ่ายค่าไฟ 100 บาท เราจะสามารถลดต้นทุน เหลือเพียง 25 บาท ดังนั้น ในธุรกิจโรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล และธุรกิจต่างๆ ที่ใช้น้ำร้อนจำนวนมาก จึงเลือกใช้เครื่องฮีตปั๊มในการผลิตน้ำร้อน

ปรึกษาและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

 info@heismannthailand.com 

 Line@Heismann

 โทร 02-993-4514



Copyright ® 2020 Heismannthailand.com